วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

เข้าค่ายพักแรม

เข้าค่ายพักแรม



ต็น
การอยู่ค่ายพักแรม เมื่อถึงเดือนมกราคม  กุมภาพันธ์  ก็จะเป็นเทศกาล การเข้าค่ายพักแรมของลูกเสือ-เนตรนารี  ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี  วันนี้เรามาศึกษาในเรื่องการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ-เนตรนารีกันดีกว่า  เพื่อเราจะได้มีความรู้  สามารถเข้าค่ายพักแรมด้วยความเข้าใจ  สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง  อยู่ในค่ายพักแรมอย่างปลอดภัย  และมีความสุข
จุดประสงค์ของการอยู่ค่ายพักแรม
1. เป็นการเรียนด้วยการกระทำ  ดังนั้นงานภาคปฏิบัติจึงเป็นหัวใจของการฝึก  ความรอบรู้ของผู้บังคับบัญชาฯ  ความพร้อมของอุปกรณ์การฝึก  และสิ่งอำนวยความสะดวก  จะต้องเตรียมล่วงหน้า  ตลอดเวลา  อย่างเพียงพอ
2. ผู้บังคับบัญชาฯ  ต้องเลือกประเภทและชนิดการอยู่ค่ายพักแรม  ให้สนองความต้องการ  ความสามารถ  เพศและวัยของผู้เรียน  ในแต่ระดับชั้น  แต่ละประเภท
3. ผู้บังคับบัญชาฯ  ต้องอยู่อย่างใกล้ชิดกับลูกเสือ-เนตรนารี  เพื่อสังเกตความก้าวหน้า  และการปฏิบัติกิจกรรม  ให้บรรลุตามจุดประสงค์ของกิจกรรม  โดย  แนะนำ  ส่งเสริม  สนับสนุน  หรือ  ห้ามปราม
4. ผู้บังคับบัญชาฯ  จะต้องมีใจรักในเรื่องการอยู่ค่ายพักแรมและมีความคิดสร้างสรรค์  พัฒนาและหากิจกรรมเสริม  เพิ่มเติม  เพื่อพัฒนาลูกเสือ-เนตรนารีของตนอยู่เสมอ 
หลักการและเหตุผลของการอยู่ค่ายพักแรม
1. การอยู่ค่ายพักแรมเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดในการให้การฝึกอบรมลูกเสือ-เนตรนารี  ลูกเสือ-เนตรนารีที่ไม่ได้เข้าค่ายพักแรม  หรือ  ไม่เคยปฏิบัติกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมก็อาจถือได้ว่ายังไม่ได้เป็นลูกเสือ-เนตรนารีอย่างแท้จริง
2. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารี  เป็นบุคคลสำคัญที่จะจัดตารางการฝึกอบรมลูกเสือ-เนตรนารีของตนเองเกี่ยวกับการอยูค่ายพักแรม
3. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารีต้องมองเห็นความสำคัญ  คุณค่าของการอยู่ค่ายพักแรมอย่างแท้จริง  จึงจะสามารถจัดขบวนการได้อย่างเหมาะสม
4. การอยู่ค่ายพักแรม  มิใช่การแยกตัวเองออกไปจากสังคมเมือง  หรือ  การอยู่เป็นส่วนตัว  แต่การอยู่ค่ายพักแรม  คือ  การสร้างประสบการณ์ของชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุขกับธรรมชาติ  การปรับตัวเองเข้ากับพื้นที่เพื่อนลูกเสือ-เนตรนารี  ตามขบวนการของลูกเสือ-เนตรนารี  ผู้บังคับบัญชาฯ  ควรมีความรู้และความเข้าใจกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมเป็นอย่างดี
5. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารี  เมื่อคิดว่าจะพาลูกเสือ-เนตรนารีของตนเข้าค่ายพักแรม  ต้องคิดโครงการว่าจะทำสิ่งใดบ้าง
6. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารีต้องถามท่านเองว่า “จะไปอยู่ค่ายพักแรมทำไม”  ถ้าท่านตอบไม่ได้  ท่านจะไม่ได้รับผลสำเร็จใด ๆ  ในการไปเข้าค่ายพักแรมเลย  ท่านอาจประสบปัญหายุ่งยากมากยิ่งขึ้น  มาตรฐานของการอยู่ค่ายพักแรมต่ำลง  กิจกรรมต่าง ๆ  อาจไม่ได้เตรียมไว้เลย  และในที่สุดความล้มเหลวก็เกิดขึ้น  โดยที่ท่านต้องศูนย์เสีย  ความสุขที่ได้รับ  เสียเวลาอันมีค่ายิ่ง  เสียเงิน  เสียโอกาส  รวมทั้งเสียความรู้สึกที่ดีต่อกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมด้วย

ผลที่ได้จากการอยู่ค่ายพักแรม
1. ได้มีโอกาสเรียนรู้  และรู้รักสมาชิกแต่ละบุคคลมากขึ้น  จะช่วยในขบวนการเรียนรู้ได้ดี
2. เป็นการทดสอบความรู้ความสามารถของผู้บังคับบัญชาฯ  ลูกเสือ-เนตรนารี  ว่าจะทำหน้าที่ของตนได้ดีมากน้อยเพียงใด  ประสบผลสำเร็จเพียงใด  เพื่อหาโอกาสปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป
3. ส่งผลให้ลูกเสือ-เนตรนารีได้รับการศึกษาวิชาพิเศษ  ได้สร้างอุปนิสัยของการเป็นพลเมืองที่ดีให้กับสมาชิก  จากการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ  มากมาย
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารี  ต้องคิดเสมอว่า  ในชีวิตนี้  ปัจจุบันนี้  โลกในยุคนี้  อาจเกิดเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ  เช่น  การขาดอาหาร  ขาดน้ำ  ขาดไฟฟ้า  หรือ  ความสะดวกสบายบางอย่าง  ที่มนุษย์ต้องการ  กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรม  เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ฝึกฝนในการดำรงชีวิตที่ดีกิจกรรมหนึ่ง

องค์ประกอบสำคัญของกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรม
1. ผู้เข้าร่วมการอยู่ค่ายพักแรม  (Campers)  ได้แก่  ลูกเสือ-เนตรนารี  ผู้บังคับบัญชาฯ  และ  อื่น ๆ 
2. กิจกรรม  (Programme)
3. งบประมาณ  (Budget)


ชนิดของการอยู่ค่ายพักแรม
1. การอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือสำรอง  (Pack Holiday  and Day Camps)
เป็นกิจกรรมเฉพาะช่วงเวลาจำกัด  จัดขึ้นเพื่อเด็กลูกเสือสำรอง  เป็นการศึกษาทักษะการอยู่ค่ายเบื้องต้น
2. การอยู่ค่ายพักแรมของกองลูกเสือแต่ละประเภท  (The Troop  Camps)
เป็นกิจกรรมอยู่ค่ายพักแรมที่มีลักษณะเด่นชัด  เป็นรูปธรรมมากขึ้น  มีรูปแบบการฝึกอบรม  มีผู้ใหญ่คอยช่วยชี้แนะ  โดย ปกติใช้เวลา  2 – 3  วัน  หรือ  อาจถึง  7  วัน
3. การอยู่ค่ายพักแรม  โดยมีอุปกรณ์ขนาดเบา  (The Lightweight Standing Camps)
เป็นกิจกรรมพักแรมที่พัฒนามากขึ้น  มีการศึกษาถึงกิจกรรมต่าง ๆ  มีรูปแบบของการใช้ชีวิตในค่ายแบบง่าย ๆ  เคลื่อนย้ายไปง่าย  อาจมีกิจกรรมการเดินทางไกล  โดยมีเครื่องหลังของตนเอง
4. การฝึกอบรมการอยู่ค่ายพักแรม  (Patrol or Training Camps)
เป็นการพัฒนาจากแบบที่ 2 – 3  โดยเฉพาะการทำงานเป็นหมู่  พวก  (Team Work)  เช่น  การฝึกอบรมนายหมู่  ฯลฯ
5. การเดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรมเฉพาะที่  หรือ  เฉพาะกิจ  (The Hide Camps)
เป็นการพัฒนาทางธรรมชาติ  ทั้งจากระบบหมู่  และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล  จะกระทำเป็นช่วงเวลา  หรือ  ระยะสั้น ๆ  อาจนำไปสู่  การเดินทางไกลที่มีมาตรฐานสูงยิ่งขึ้น  คือ  วิชาพิเศษการเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม  (Advanced Scout Standard Hike) 
6. การพักแรมเป็นคณะร่วมกับสมาชิก  (The Mobils Patrol Camps)
มีลักษณะเช่นเดียวกับแบบที่ 2  อาจจะเรียกว่า  ทัศนศึกษาก็ได้  การเดินทางอาจใช้  โดยเท้า  เรือ  จักรยาน  รถยนต์  หรือ  รถไฟ  นายหมู่ หรือ ผู้นำ  เป็นผู้นำการอยู่ค่ายพักแรม
7. การพักแรมเพื่อยังชีพ  (The Suruival Camps)
เป็นการอยู่ค่ายพักแรมเพื่อการเรียนรู้  และการสร้างประสบการณ์เพื่อการยังชีพไปด้วย  เช่น  การเรียนรู้ธรรมชาติ  การประกอบอาหาร  การสร้างที่พัก  เป็นการส่งเสริมทักษะลูกเสือ-เนตรนารี  ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
8. การพักแรมพร้อมกับกิจกรรมที่ท้าทาย  (The Expedition at Home or Aboad)
หมายถึงการเดินทางเพื่อไปทำกิจกรรมที่ท้าทาย  สนุกสนาน  มากกว่าการอยู่ในค่ายพักแรมเพียงอย่างเดียว  เช่น  การไต่เขา  แล่นเรือใบ  หรือ  อาจเป็นการเข้าค่ายเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น
9. งานชุมนุมนานาชาติ  (International Camps)
กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมทั้ง  8  ชนิด  อาจเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน  เมื่ออยู่ในงานชุมนุมลูกเสือ  จะจัดโดยคณะลูกเสือของประเทศใดประเทศหนึ่ง  จึงใช้ชื่อ  International Camps  หรือ  “World Scout Jamborees”  หรือ  Foreign National Camps  หรือ  International Scout Camps  แล้วแต่สถาบัน หรือ คณะลูกเสือแห่งชาติของแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนด


วิธีการกางเต็นท์โดม

อันดับแรก  ต้องทำการเคลียร์พื้นที่ ที่ต้องการกางเต็นท์เสียก่อน ห้ามมีเศษกิ่งไม้  ก้อนหิน หรือ ของแข็งอยู่ใต้เต็นท์ เนื่องจาก วัตถุเหล่านี้ อาจทำให้พื้นเต็นท์เสียหาย มีรู ชำรุดได้ง่าย น้ำซึมเวลาฝนตก และนอนไม่สบาย มีอะไรแทงหลังขณะนอนหลับ

เทคนิคสำคัญ ก่อนกางเต็นท์ เราสามารถใช้ผ้ารองพื้น หรือ ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า กราวน์ชีต (Ground Sheet) ปูพื้นก่อน กางเต็นท์ เป็นการป้องกันพื้นเต็นท์ส่วนหนึ่ง  สามารถป้องกันสิ่งสกปรก ขณะเก็บเต็นท์ได้ แถมเวลานอน พื้นเต็นท์จะไม่เย็นจนเกินไป

กรณีฤดูฝน ให้เก็บ ปลายผ้ารองพื้น ไว้ใต้ตัวเต็นท์ให้มิดชิด เพื่อป้องกัน น้ำฝนไหลเข้าไปในใต้พื้นเต็นท์ และไม่ซึมลงพื้นดิน จะมีผลทำให้ เต็นท์เปียก และนอนแช่น้ำได้


 

อันดับสอง  นำเต็นท์ออกจะซอง ตรวจสอบ อุปกรณ์ทั้งหมด ว่าครบหรือไม่ เช่น มีเสากี่ต้น มีสมอบกกี่อัน (กรณีเต็นท์ใหม่) ซึ่งมีผลต่อการเก็บ และใช้ในทริปต่อไป เมื่อได้ทราบจำนวนว่าครบแล้ว ให้เริ่มกางเสาเต็นท์ทั้งสองเส้น ตามในภาพ แล้วเสียบแบบทแยง


 
อันดับสาม  ดันเสาเต็นท์ ให้โค้งขึ้น และเสียบกับตัวเสียบที่ติดมากับเต็นท์ ทั้ง 4 มุม ทีละข้าง และทีละเส้น


 
อันดับสี่  ให้สังเกตตรงยอดเต็นท์ จะมีเชือกหรือตะขอเกี่ยวเต็นท์ ให้นำไปผูกหรือเกี่ยวกับเสาเต็นท์ที่ไขว้กันอยู่ เพื่อให้เต็นท์ตึง และนำตะขอเกี่ยวที่เหลือตรงเหลี่ยมเต็นท์ เกี่ยวยึดกับเสาเต็นท์ให้หมด เพื่อให้เต็นท์แข็งแรงขึ้นและเป็นทรงเต็นท์โดม เป็นอันเสร็จในขั้นตอนการกางเต็นท์ช่วงแรก

 


 
อันดับห้า  ฟลายชีต ซึ่งทำหน้าที่เป็นหลังคาของเต็นท์ คอยกันฝน กันน้ำค้าง หรือ กันลม ให้นำเสาฟลายชีตที่มาพร้อมกับเสาเต็นท์ (เสาเต็นท์จะยาวกว่า เสาฟลายชีตจะสั้นกว่า) นำมาต่อกันแล้วนำไปเสียบในช่องที่เย็บติดกับฟลายชีต ตามภาพ ทั้งสองเส้น แล้ว นำเชือกที่เย็บติดกับฟลายชีตตรงกึ่งกลางผูกติดกับเสาฟรายชีตตรงที่ไขว้กันอยู่ เพื่อเป็นการยึดฟลายชีตกับเสาให้แข็งแรง


 
อันดับหก นำฟลายชีตที่เราทำไว้เรียบร้อยแล้ว ไปวางคล่อม บนตัวเต็นท์ ให้สังเกตเชือกที่อยู่ปลายฟลายชีต ทั้ง 4 มุม นำไปยึดกับตัวเต็นท์ทั้ง 4 มุมของตัวเต็นท์


อันดับเจ็ด  นำสมอไปยึดกับมุมทั้ง 4 ของตัวเต็นท์ เพื่อกันลมกระโชกและเพื่อให้เต็นท์มั่นคงและอยู่ตัว นำเชือกไปผูกกับฟลายชีต และดึง ยึดด้วยสมอบก การทำให้ฟลายชีตมีความตึง จะทำให้สามารถกันน้ำฝนหรือ น้ำค้างได้เป็นอย่างดี












































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น